
ในโรงพยาบาลที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ มีสารเคมีและวัตถุอันตรายที่ใช้กันอยู่กี่ชนิด แต่ละชนิดอยู่ในหน่วยงานใดบ้าง แต่ละหน่วยงานทราบหรือไม่ว่าการจัดเก็บ การดูแลหรือการป้องกันหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ต้องทำอย่างไร
เรามีความตระหนักดีว่า สารเคมีและวัตถุอันตรายต่างๆ ที่ใช้ภายในโรงพยาบาลล้วนแต่มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งต่อทางการแพทย์ ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยสูงสุด ผู้ใช้งานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและวัตถุอันตราย ควรมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกัน การดูแล ตลอดจนมาตรการการควบคุมทางกฎหมายอย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ในการเข้าระงับเหตุฉุกเฉินสารเคมี
Chemical Spill Kit, Emergency Eye Wash & Shower

หัวข้อสาระสำคัญ
- ความรู้ความสำคัญในงานสารเคมี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายในโรงพยาบาล – สารเคมี คืออะไร และอันตรายอย่างไร
– ประเภทของสารเคมีอันตราย การจำแนกความเป็นอันตรายด้วยระบบ GHS
– เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี Safety Data Sheet (SDS)
– กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานกับสารเคมี
– เส้นทางการรับสัมผัสสารเคมีและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น - การบริหารจัดการสารเคมี และวัตถุอันตราย – การจัดทำทะเบียนสารเคมีในโรงพยาบาล
– การใช้งานและการจัดเก็บสารเคมีให้ปลอดภัยในโรงพยาบาล
– อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) และอุปกรณ์ฉุกเฉินภายในโรงพยาบาล - การโต้ตอบเหตุฉุกเฉิน กรณีสารเคมีหกรั่วไหล – ขั้นตอนการเข้าระงับเหตุ กรณีสารเคมีหกรั่วไหลภายในโรงพยาบาล
– Case Study ที่เคยเกิดขึ้นในโรงพยาบาลก
เหมาะสมกับ
-
ผู้บริหาร หัวหน้างานด้านระบบสิ่งสนับสนุนโรงพยาบาล
-
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสารเคมีและวัตถุอันตรายในโรงพยาบาล
-
แพทย์ พยาบาล ผู้ใช้ ผู้สัมผัส และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
-
นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
ช่องทางการลงทะเบียน
ตั้งแต่วันนี้ – 20 พ.ย. 66
รูปแบบการสัมมนา
สัมนาออนไลน์ฟรี


คุณพรพิมล มูลละม่อม
ผู้จัดการแผนกความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
คุณทัศณียา ทัศนไตรลักษณ์
หัวหน้าแผนกความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
คุณนฤวรรณ อุ่นทรพันธ์
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพอาวุโส
